10 Functions ของ Excel ที่ใช้ในการคำนวณ

คนส่วนมากที่ใช้คอมพิวเตอร์ ไม่ว่าใช้ทำงาน หรือใช้ในการเรียน หนีไม่พ้นที่ต้องใช้โปรแกรมตาราง (spreadsheets) อย่าง Excel ที่ไม่ว่าจะ version ไหน ๆ ก็มาพร้อมกับความฉลาด และอรรถประโยชน์จริง ๆ แต่ก็มีเพียงคนส่วนน้อยเท่านั้น ที่พอจะรู้จักการนำเอาความสามารถของ Excel มาประยุกต์ใช้ได้มากกว่าเพียงแค่ตารางข้อมูลที่มีเพียงการ บวก ลบ เปอร์เซ็นต์ แล้วก็แต่งเติมสีสรร ปรับหน้าตาไปตามความถนัดของแต่ละคนเท่านั้นเอง

แต่ในความเป็นจริงแล้ว Excel ก็เปรียบเสมือนภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมภาษาหนึ่ง ที่สามารถเข้าไปจัดการในระดับฐานข้อมูล มีการประมวลผลที่สลับซับซ้อน  และแสดงผลลัพธ์ออกมาได้อย่างสวยงาม ยิ่งไปกว่านั้น Excel ยังถูกออกแบบส่วนติดต่อกับผู้ใช้งาน (user interface) เพื่อให้ผู้ใช้ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ก็สามารถใช้งานได้ด้วยคำสั่งผ่านปุ่ม/เมนูคำสั่งอย่างเรียบง่าย ไปจนถึงการนำ function มาใช้ในการประเมินผล และการเขียน macro บันทึกคำสั่งไว้ได้ตามความสามารถของผู้ใช้ได้อย่างแทบไม่มีขีดจำกัดเลยทีเดียว

หมวดนี้ขอเริ่มต้นด้วยการแนะนำ 10 functions ของ Excel ที่ใช้ในการคำนวณก่อนครับ

ก่อนที่เราจะนำคำสั่งของ Excel ที่ใช้ในการคำนวณใด ๆ นั้น เราจะต้องรู้จักการใช้เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์เสียก่อน เพื่อเป็นพื้นฐาน และหัวใจสำคัญในการที่เราจะนำไปใช้ได้ เช่นเครื่องหมาย บวก, ลบ, คูณ, หาร รวมถึงเครื่องหมายที่ใช้ในการเปรียบเทียบ ได้แก่ มากกว่า, น้อยกว่า และเท่ากับ เป็นต้น ดังที่จะแสดงตามตัวอย่างข้างล่างนี้

Read more...

rounddown()

ใช้ปัดเศษทศนิยม แบบกำหนดตำแหน่งของทศนิยมที่ต้องการ เช่นปัดให้เหลือทศนิยม 2 ตำแหน่ง หรือแม้แต่ให้เหลือจำนวนเต็มได้ตามต้องการ
การใช้ roundup() เหมือนกับ round() เพียงแต่ roundup() เป็นการปัดเศษลง โดยไม่คำนึงว่าเป็นเศษเท่าไร

 

การปัดเศษทศนิยมโดย rounddown() นี้ เป็นการปัดลงทั้งหมด 

Read more...

trunc()

ใช้ปัดเศษทศนิยมทิ้ง โดยไม่คำนึงว่าเศษทศนิยมมีกี่ตำแหน่ง เกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือไม่ สรุปคือ ปัดเศษทศนิยมทิ้งไปเลย
trunc() ต่างกับ int() ตรงที่ trunc() สามารถกำหนดได้ว่าต้องการให้ตัดทศนิยมทิ้งที่ตำแหน่งไหนได้

 

Read more...

int()

ใช้ปัดเศษทศนิยมทิ้ง โดยไม่คำนึงว่าเศษทศนิยมมีกี่ตำแหน่ง เกินกว่าครึ่งหนึ่งหรือไม่ สรุปคือ ปัดเศษทศนิยมทิ้งไปเลย

 

Read more...

floor()

ใช้ในการนำเลขจำนวนที่ได้ มาปรับเป็นจำนวนใหม่ตามเงื่อนไขที่กำหนด นิยมใช้ในการปรับค่าตัวเลขให้ลงท้ายด้วยเลขศูนย์ เช่นหลักร้อย หลักพัน เป็นต้น ดังตัวอย่างนี้ เป็นการปรับงบค่าใช้จ่ายของแผนกต่าง ๆ ที่อาจเป็นยอดจริงของปีที่ผ่านมา เพื่อให้สะดวกในการทำงบประมาณ จึงต้องมีการปรับจำนวน ดัง 3 ตัวอย่าง ที่ปรับในหลัก 1000, 5000 และ 10000

 

Read more...

countif()

ใช้นับจำนวนข้อมูลในตาราง ที่มีข้อมูลตรงตามที่กำหนด เช่น ต้องการให้นับจำนวนพนักงานแยกตามเพศ, นับจำนวนพนักงานที่อยู่ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร เป็นต้น 

Read more...

roundup()

ใช้ปัดเศษทศนิยม แบบกำหนดตำแหน่งของทศนิยมที่ต้องการ เช่นปัดให้เหลือทศนิยม 2 ตำแหน่ง หรือแม้แต่ให้เหลือจำนวนเต็มได้ตามต้องการ
การใช้ roundup() เหมือนกับ round() เพียงแต่ roundup() เป็นการปัดเศษขึ้น โดยไม่คำนึงว่าเป็นเศษเท่าไร

 

การปัดเศษทศนิยมโดย roundup() นี้ เป็นการปัดขึ้นทั้งหมด

Read more...

Menu