บัญชีลูกหนี้

        เป็นการบันทึกรายการใช้จ่ายต่างๆ ของลูกค้าที่เปิดบัญชีเงินเชื่อ หลังจากบันทึกรายการและตรวจสอบแก้ไขประจำวันแล้วจึงพิมพ์ใบกำกับภาษีรายวันของลูกค้าแต่ละราย  และเมื่อถึงงวดปิดบัญชีจึงพิมพ์ใบแจ้งหนี้ และใบเสร็จรับเงิน  โดยท่านจะสามารถกำหนด การออกใบกำกับภาษี, ใบแจ้งหนี้, ใบเสร็จรับเงิน และระยะงวดบัญชีของลูกค้าแต่ละรายได้ตามความต้องการ

 

การเริ่มต้นใช้งาน

            1. บันทึกรายละเอียดการชำระหนี้ของลูกค้า ที่หัวข้อ กำหนด เช็คธนาคาร

            2. บันทึกรายละเอียดลูกค้า ที่หัวข้อ กำหนด รหัสลูกหนี้

 

การใช้งานประจำวัน

            1. นำคูปอง/บิลลูกหนี้ มาบันทึกรายการในหัวข้อ บันทึก รายการ

            2. เมื่อบันทึกคูปอง/บิลลูกหนี้ ครบทุกใบแล้วให้ตรวจสอบความถูกต้องจาก รายงาน การบันทึกถ้ามีการผิดพลาด ให้ทำการแก้ไขให้เรียบร้อยในหัวข้อ แก้ไข รายการ

            3. เมื่อแน่ใจว่าถูกต้องทุกรายการแล้ว ให้ไปที่ ใบกำกับภาษีรายวันเลือก ออกหมายเลข  เพื่อให้โปรแกรมทำาการออกหมายเลขใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าทุกรายที่ต้องการตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จากนั้นเลือก เลือกพิมพ์เพื่อให้โปรแกรมพิมพ์ใบกำกับภาษีของลูกค้าในวันนั้นออกมา

            4. เมื่อถึงครบกำหนดการปิดบัญชีเพื่อวางบิลลูกค้า  ให้ท่านมาที่หัวข้อ สรุปยอด ตามรหัสหรือ สรุปยอด ตามงวดหรือ สรุปยอด ตามทะเบียนตามแต่ความต้องการ เพื่อให้โปรแกรมพิมพ์ใบแจ้งหนี้ออกมา

            5. หลังจากที่ลูกค้ามาชำระตามใบแจ้งหนี้แล้ว ให้ท่านบันทึกรายการในหัวข้อ บันทึก รับชำระหนี้

 

รายละเอียดการใช้โปรแกรม

1. บันทึก รายการ                      : ใช้ในการบันทึกคูปอง/บิลลูกหนี้

            -. ป้อนวันที่ และรอบลงในช่อง วันที่และ รอบตามลำดับ

            -. ป้อนรหัสลูกค้า ลงในช่อง รหัสหรือ  กดปุ่ม Enter ผ่านเข้าสู่ ระบบตัวเลือกเพื่อเลือกรหัสลูกค้าได้     เมื่อท่านป้อนรหัสเสร็จแล้ว จะปรากฎชื่อลูกค้าทางด้านขวาของรหัส ซึ่งจะช่วยให้ท่านมั่นใจว่าป้อนรหัสลูกค้าถูกต้อง

            -. ป้อนทะเบียนรถ กดปุ่ม Enter ผ่านเข้าสู่ ระบบตัวเลือกเพื่อเลือกทะเบียนรถได้ 

            -. ป้อนเลขที่คูปอง/บิลลูกหนี้ ลงในช่อง เล่ม-เลขที่

            -. ป้อนชนิดน้ำมันใสลงในช่อง ชนิดน้ำมันใสด้วยตัวอักษร “D” สำหรับ ดีเซลหมุนเร็ว, “R” สำหรับเบนซินธรรมดา,  “S” สำหรับเบนซินพิเศษ  และ “U” สำหรับเบนซินไร้สารตะกั่ว   หรือกดปุ่ม Enter ผ่านเข้าสู่ ระบบตัวเลือกเพื่อเลือกชนิดน้ำมันใส  กรณีเป็นรายการอื่นให้ป้อนด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมายอื่นเช่น  เครื่องหมายจุด (.)

            -. ถ้าท่านป้อนรหัสน้ำมันใสลงในช่อง ชนิดน้ำมันใสที่ช่องรายการนี้จะแสดงชื่อน้ำมันใส ท่านกดปุ่ม Enter  ผ่านไป  ทำรายการต่อไปได้  แต่ถ้าท่านป้อนด้วยตัวอักษรหรือเครื่องหมายอื่น  ช่อง รายการนี้จะไม่ปรากฎข้อความใด ๆ ท่านสามารถที่จะบันทึกข้อความที่ช่อง รายการได้ด้วย 2 วิธี คือ 1. กดปุ่ม Enter ผ่านเข้าสู่ ระบบตัวเลือกเพื่อเลือกรายชื่อสินค้าได้โดยไม่ต้องป้อนข้อมูล หรือ 2. ป้อนเครื่องหมายขีด (-) แล้วกดปุ่ม Enter เพื่อเลือกประเภทการให้บริการหลังลานได้โดยไม่ต้องป้อนข้อมูลเช่นกัน (ดูการกำหนดรหัสบริการ ในเรื่อง บริการ”)

            -. ในช่อง จำนวน”, “ราคา:หน่วยและ จำนวนเงินนี้ จะมีความสัมพันธ์กัน คือ ถ้าท่านป้อนที่ช่อง จำนวน  และฃ่อง ราคา:หน่วยแล้ว ตัวเลขในช่อง จำนวนเงินจะมาจากตัวเลขในช่อง จำนวนคูณด้วยช่อง ราคา:หน่วยแต่ถ้าท่านป้อนหรือแก้ไขตัวเลขในช่อง จำนวนเงินตัวเลขในช่อง จำนวนจะมาจากตัวเลขในช่อง จำนวนเงินหารด้วยช่อง ราคา:หน่วย  ความสัมพันธ์กันนี้ จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้ท่านในกรณีที่คูปอง/บิลลูกหนี้ แสดงแต่จำนวนเงิน แต่ไม่แสดงจำนวนลิตร  หรือแม้แต่แสดงจำนวนลิตร แต่ไม่แสดงจำนวนเงิน

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปที่รายการเปล่า

 

 


            -. หลังจากท่านป้อนลงในช่อง จำนวนเงินแล้วจะปรากฎจอภาพดังตัวอย่าง  พร้อมทั้งแสดงชื่อลูกค้าของรายการนั้นไว้ที่บรรทัดสุดท้าย ถ้าท่านเลื่อนแถบสว่างขึ้นลงไปรายการอื่น ชื่อลูกค้าที่แสดงอยู่นี้จะเปลี่ยนไปตามรหัสลูกค้าด้วย

            -. ในขณะที่แถบสว่างอยู่ที่ช่อง วันที่นี้  ท่านสามารถที่จะใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนลงมาหนึ่งครั้งเพื่อทำรายการต่อไปได้

            -. กรณีที่มีรายการมากกว่า 1 รายการในคูปอง/บิลลูกหนี้ 1 ใบ   ให้ท่านบันทึกรายการแรกเสร็จก่อนจนปรากฎจอภาพดังตัวอย่าง จากนั้นให้กดปุ่ม F6 โปรแกรมจะทำการเพิ่มข้อมูลขึ้นมาอีกหนึ่งรายการ  และคัดลอกข้อมูลส่วนที่ซ้ำกัน  คือ วันที่”,  รอบ”,  รหัส”,  ทะเบียนและ  เล่ม-เลขที่  เพื่อเพิ่มความสะดวกให้ท่าน

            -. กรณีที่ท่านกดปุ่ม ESC แล้วพบคำถามว่า ต้องการบันทึกข้อมูล

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปที่รายการเปล่า  หรือให้เลือกบันทึกข้อมูล

                                                : F6      ลอกข้อมูลจากรายการที่แถบส่วางอยู่ ไปรายการใหม่

                                                : F8      จอภาพจะลบรายการทั้งบรรทัดที่แถบสว่างอยู่

                                                : F10     บันทึกข้อมูล จอภาพจะกลับไปที่เมนู

                                               

       

            -. กรณีที่ท่านกดปุ่ม ESC แล้วพบข้อความดังกล่าว  ท่านสามารถออกไปที่เมนูหลักได้โดยเลื่อนแถบสว่างไปยังตัวเลือกที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Enter แต่ถ้าท่านต้องการกลับไปทำรายการต่อ ให้ท่านกดปุ่ม ESC อีกครั้ง จอภาพจะกลับมา ให้ท่านทำรายการต่อไป

 

2. แก้ไข รายการ                       : ใช้ในการแก้ไข และลบรายการของคูปอง/บิลลูกหนี้

            -. หลังจากที่ท่านทราบว่า คูปอง/บิลลูกหนี้ ที่ถูกบันทึกรายการไปแล้วมีการผิดพลาด ต้องการแก้ไข ให้ท่านกำหนดช่วง

               ของข้อมูลที่ต้องการแก้ไข ลงบนจอภาพนี้   เช่น ถ้าเป็นรายการของลูกค้ารหัสเดียวกัน ก็ให้ป้อนรหัสลูกค้าที่ต้องการลงในช่อง รหัสลูกหนี้และ ถึงโดยท่านกดปุ่ม Enter ผ่านเข้าสู่ ระบบตัวเลือกได้  ส่วนในช่อง ระหว่างวันที่และ ถึงนี้ ให้ป้อนวันที่ที่ครอบคลุมถึงรายการที่ต้องการแก้ไข  ในการกำหนดช่วงของข้อมูลนี้ ควรกำหนดเฉพาะช่วงข้อมูลที่ต้องการตรวจสอบและแก้ไขเท่านั้น เพื่อความสะดวกรวดเร็ว

            -. นอกจากนี้ ท่านยังสามารถที่จะใช้ข้อ แก้ไข รายการนี้เป็นตัวตรวจสอบ และแก้ไขทันทีได้ด้วย

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปที่เมนูหลัก

 

 

            -. หลังจากที่ท่านกำหนดช่วงข้อมูลแล้ว โปรแกรมจะนำรายการที่ท่านได้บันทึกไว้แล้วตามที่กำหนดมาแสดงดังตัวอย่าง

            -. วิธีการแก้ไข และลบรายการเช่นเดียวกับ บันทึก รายการ  แต่ในหัวข้อนี้ ไม่สามารถที่จะบันทึกเพิ่มเติมได้เท่านั้น

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปให้กำหนดช่วงข้อมูลใหม่

                                                : F8      จอภาพจะลบรายการทั้งบรรทัดที่แถบสว่างอยู่

                                                : F10     บันทึกข้อมูล จอภาพจะกลับไปที่เมนู

 

3. บันทึก รับชำระหนี้                 : ใช้ในบันทึกรับชำระหนี้จากลูกค้า หลังจากส่งใบวางบิล

            -. การบันทึกรับชำระหนี้จากลูกค้าในข้อนี้  สามารถทำได้หลังจากที่มีการส่งใบแจ้งหนี้จากการ สรุปยอดแล้วเท่านั้น เพราะท่านจะต้องใช้หมายเลขใบวางบิลที่เกิดจากการสรุปยอดมาบันทึกประกอบการรับชำระหนี้

            -. ป้อนวันที่ และรอบที่ลูกค้ามาชำระหนี้ ลงในช่อง วันที่

            -. ป้อนรหัสลูกค้า ลงในช่อง รหัสกดปุ่ม Enter ผ่านเข้าสู่ ระบบตัวเลือกได้

            -. ป้อนหมายเลขใบวางบิลลงในช่อง ใบวางบิล  ถ้าท่านป้อนหมายเลขใบแจ้งหนี้ไม่ตรงกับการสรุปยอด แถบสว่างจะคงอยู่ที่ช่อง ใบแจ้งหนี้นี้จนกว่าท่านจะป้อนหมายเลขใบวางบิลของลูกค้ารายนี้ถูกต้อง

            -. ในช่อง ชำระโดยนี้ เป็นการป้อนรายละเอียดการชำระเงินว่าเป็นเงินสด หรือเช็คธนาคาร ท่านกดปุ่ม Enter  ผ่านเข้าสู่ ระบบตัวเลือกจากการกำหนดในหัวข้อ กำหนด เช็คธนาคารพร้อมทั้งเพิ่มรายละเอียดอื่นได้อีก

            -. บันทึกจำนวนเงินที่รับชำระ ลงในช่อง จำนวนเงิน         

หมายเหตุ : 

1. เมื่อท่านกดปุ่ม F10 เพื่อบันทึกข้อมูลแล้ว ท่านจะเรียกรายการรับชำระนี้กลับมาแก้ไขไม่ หากต้องการแก้ไข ให้ทำการบันทึกรายการที่ผิดนี้ซ้ำอีกครั้ง แต่การป้อนจำนวนเงินให้ป้อนเป็นค่าติดลบ โดยการป้อนเครื่องหมายลบ (-) ก่อนป้อนตัวเลข ทั้งสองรายการนี้จะหักล้างกันตามหลักการบัญชี  ซึ่งท่านจะตรวจสอบได้จาก รายงาน รับชำระหนี้                                      

2. หากท่านพบข้อความ ยอดเงินที่รับชำระ  มีมูลค่ามากกว่ายอดเงินตามใบวางบิล   แสดงว่าจำนวนเงินที่ท่านป้อนลงไป เป็นจำนวนเงินที่มากกว่ายอดหนี้ของลูกค้าตามใบวางบิล กรณีนี้ เงินส่วนที่เกินจะไม่สามารถไปหักล้างกับคูปอง/บิลลูกหนี้ที่จะเกิดขึ้นในงวดต่อไปได้ เพราะว่า มีหมายเลขใบวางบิลไม่ตรงกัน  แต่ถ้าท่านป้อนจำนวนเงินน้อยกว่าหรือเท่ากับยอดเงินตามใบวางบิล  โปรแกรมจะนำจำนวนเงินนี้ไปหักล้างกับคูปอง/บิลลูกหนี้ของใบวางบิลนี้จนครบตามจำนวนเงิน  ซึ่งท่านจะตรวจสอบคูปอง/บิลลูกหนี้ ที่ค้างชำระได้จาก รายงาน คงค้างชำระ

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปที่รายการเปล่า  หรือให้เลือกบันทึกข้อมูล

                                                : F8      จอภาพจะลบรายการทั้งบรรทัดที่แถบสว่างอยู่

                                                : F10     บันทึกข้อมูล จอภาพจะกลับไปที่เมนู

 

 

       

            -. กรณีที่ท่านกดปุ่ม ESC แล้วพบข้อความดังกล่าว  ท่านสามารถออกไปที่เมนูหลักได้โดยเลื่อนแถบสว่างไปยังตัวเลือกที่ต้องการ แล้วกดปุ่ม Enter แต่ถ้าท่านต้องการกลับไปทำรายการต่อ ให้ท่านกดปุ่ม ESC อีกครั้ง จอภาพจะกลับมา  ให้ท่านทำรายการต่อไป

 

4. กำหนด เช็คธนาคาร              : ใช้ในการกำหนดประเภทการชำระเงินของลูกค้า

            -. ป้อนรหัสของประเภทการชำระเงินของลูกค้า กดปุ่ม Enter ผ่านเข้าสู่ ระบบตัวเลือกและเลือกรหัสมาทำการแก้ไข /ตรวจสอบ ได้

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปที่เมนูหลัก

 

            -. ป้อนรายละเอียดของประเภทการชำระเงิน      

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปให้ป้อนรหัส

                                                : F8      ลบรายการ และจอภาพจะกลับไปให้ป้อนรหัส (กรณีป้อนรหัสที่เคยบันทึกไว้) 

 

 

5. กำหนด รหัสลูกหนี้                : ใช้ในการกำหนดรหัส และรายละเอียดลูกค้า

            -. ป้อนรหัสของลูกค้า กดปุ่ม Enter ผ่านเข้าสู่ ระบบตัวเลือกและเลือกรหัสมาทำการแก้ไข/ตรวจสอบ ได้

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปที่เมนูหลัก

 

 

                 -. ป้อนชื่อเต็มของบริษัทลูกค้า ลงในช่อง บริษัท

            -. ป้อนที่อยู่ของลูกค้า ควรป้อนให้ได้ 3 บรรทัด แยกบรรทัดตามความเหมาะสม

            -. ป้อนรายละเอียด ลงในช่อง โทรศัพท์”, “ติดต่อ”, “เริ่มวันที่และ ค้ำประกัน ตามลำดับ

            -. ป้อนงวดบัญชี เช่น 15, 30 หรือตามต้องการลงในช่อง ตัดบัญชีซึ่งจะมีผลใช้ร่วมกับ สรุปยอด ตามงวด    

            -. กรณีทราบยอดสะสม และยอดรับชำระหนี้ของลูกค้า ก่อนการใช้โปรแกรม และต้องการตั้งยอดไว้ ให้ป้อนจำนวนเงินที่ทราบลงในช่อง ยอดสะสมและ รับชำระแล้ว   ซึ่งรหัสการใช้โปรแกรมของท่านจะต้องมีระดับเป็น ผู้จัดการจึงจะสามารถป้อนจำนวนดังกล่าวได้   ส่วนช่อง คงค้างชำระโปรแกรมจะคำนวณให้โดยใช้ ยอดสะสมลบด้วยรับชำระแล้ว

            -. กรณีลูกค้ารายนี้ต้องการใบกำกับภาษีรายวัน ให้ป้อน “Y” ลงในช่อง ใบกำกับภาษีถ้าไม่ให้ป้อนด้วย “N”

            -. กรณีลูกค้ารายนี้ต้องการใบกำกับภาษีรายวัน และต้องการให้แยกตามคูปอง/บิลลูกหนี้ทุกใบ  ให้ป้อน “Y” ลงในช่องแยกตามคูปองถ้าไม่ให้ป้อนด้วย “N”

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปให้ป้อนรหัส

                                                : F8      ลบรายการ และจอภาพจะกลับไปให้ป้อนรหัส (กรณีป้อนรหัสที่เคยบันทึกไว้)

 

 


            -. แถบสว่างจะปรากฎอยู่ใต้คำว่า ทะเบียนเพื่อให้ท่านป้อนหมายเลขทะเบียนรถของลูกหนี้รายนี้  โดยจะต้องกดปุ่ม Enter เพื่อให้เกิดเครื่องหมายก้ามปู “[ ]”ก่อน เมื่อป้อนเสร็จแล้วให้กดปุ่ม Enter อีกครั้งหนึ่ง   และถ้าต้องการป้อนทะเบียนรถอื่นอีก ให้ใช้ปุ่มลูกศรเลื่อนลงมาแล้วกดปุ่ม Enter อีกครั้งเพื่อให้เกิดเครื่องหมายก้ามปู “[ ]” อีกทำเช่นนี้นครบตามต้องการ

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปให้ป้อนรหัส

                                                : F8      จอภาพจะลบรายการที่แถบสว่างอยู่

                                                : F10     บันทึกข้อมูล จอภาพจะกลับไปที่เมนู

 

 

6. สรุปยอด ตามรหัส                 : ใช้ในการสรุปยอดใช้จ่าย และวางบิลลูกค้า โดยการกำหนดรหัสลูกค้า


            -. เมื่อถึงวันสรุปยอดใช้จ่าย เพื่อวางบิลลูกค้า สรุปยอด ตามรหัสเป็นวิธีหนึ่งในการสรุปยอด และวางบิลลูกค้า  วิธีนี้เหมาะสำหรับท่านที่ต้องการสรุปยอดของลูกค้าครั้งละราย  โดยการป้อนรหัสลูกค้าที่ต้องการลงในช่อง รหัสลูกหนี้และ ถึงเป็นรหัสเดียวกัน และถ้าต้องการสรุปยอดครั้งละหลายราย หรือทุกราย ที่มีระยะงวดบัญชีตรงกัน ก็ทำได้  เช่นเดียวกัน โดยป้อนรหัสลูกค้าเริ่มต้นที่ช่อง รหัสลูกหนี้และรหัสสุดท้ายที่ต้องการลงในช่อง ถึง  ท่านจะกดปุ่ม Enter ผ่านเข้าสู่ ระบบตัวเลือกเพื่อเลือกรหัสลูกค้าได้     ส่วนในช่อง ระหว่างวันที่และ ถึงให้ป้อนวันที่ของช่วงเวลาในงวดบัญชีที่ต้องการสรุป

            -. การสรุปยอดนี้ ถ้าท่านต้องการตรวจสอบเพียงอย่างเดียว ยังไม่ต้องการพิมพ์ใบวางบิล    ให้ท่านป้อน “N” ลงในช่อง

              ออกหมายเลขเพื่อไม่ให้หมายเลขใบวางบิลของลูกค้าเปลี่ยนไป  แต่ถ้าต้องการพิมพ์ใบวางบิล ให้ป้อน “Y” แทน

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปที่เมนูหลัก

 

7. สรุปยอด ตามงวด                  : ใช้ในการสรุปยอดใช้จ่าย และวางบิลลูกค้า โดยการกำหนดงวดบัญชี


            -. การใช้ สรุปยอด ตามงวดจะเหมาะกับกรณีที่ลูกค้ามีงวดบัญชีแตกต่างกัน การสรุปยอดนี้ไม่สามารถเจาะจงลูกค้ารายหนึ่งรายใดได้  แต่เป็นการเลือกสรุปลูกค้าที่มีงวดบัญชีตรงกันกับที่ท่านป้อนลงในช่อง งวดบัญชี   ส่วนในช่องระหว่างวันที่และ ถึงให้ป้อนวันที่ของช่วงเวลาในงวดบัญชีที่ต้องการสรุป   ซึ่งอาจไม่มีความสัมพันธ์กับตัวเลขในช่อง งวดบัญชี

            -. การสรุปยอดนี้ ถ้าท่านต้องการตรวจสอบเพียงอย่างเดียว ยังไม่ต้องการพิมพ์ใบวางบิล    ให้ท่านป้อน “N” ลงในช่องออกหมายเลขเพื่อไม่ให้หมายเลขใบวางบิลของลูกค้าเปลี่ยนไป  แต่ถ้าต้องการพิมพ์ใบวางบิล ให้ป้อน “Y” แทน

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปที่เมนูหลัก 

 

8. สรุปยอด ตามทะเบียน           : ใช้ในการสรุปยอดใช้จ่าย และวางบิลลูกค้า โดยการกำหนดรหัสลูกค้า แยกทะเบียนรถ


            -. กรณีลูกค้าของท่านมีรถยนต์ที่มาใช้สินค้า/บริการเป็นจำนวนหลายคัน  ในการวางบิลโดย สรุปยอด ตามรหัสหรือ  สรุปยอด ตามงวดอาจไม่สามารถเป็นที่ยอมรับของลูกค้าท่าน เนื่องจากการสรุปยอดดังกล่าว ไม่สามารถรวมยอดของรถยนต์แต่ละคันได้     ในการสรุปยอดแยกตามทะเบียนนี้ ท่านกำหนดรหัสลูกค้าได้ครั้งละราย    ท่านจะกดปุ่ม  Enter ผ่านเข้าสู่ ระบบตัวเลือกเพื่อเลือกรหัสลูกค้าได้     ส่วนในช่อง ระหว่างวันที่และ ถึงให้ป้อนวันที่ของช่วงเวลาในงวดบัญชีที่ต้องการสรุป

            -. ในช่อง เฉพาะสรุปนี้ ถ้าท่านป้อนด้วย “Y” ท่านจะได้รายงานสรุป โดยในแต่ละบรรทัดจะเป็นการสรุปของรถยนต์แต่ละคัน  แต่ถ้าท่านป้อนด้วย “N”

            -. การสรุปยอดนี้ ถ้าท่านต้องการตรวจสอบเพียงอย่างเดียว ยังไม่ต้องการพิมพ์ใบวางบิล    ให้ท่านป้อน “N” ลงในช่องออกหมายเลขเพื่อไม่ให้หมายเลขใบวางบิลของลูกค้าเปลี่ยนไป  แต่ถ้าต้องการพิมพ์ใบวางบิล ให้ป้อน “Y” แทน

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปที่เมนูหลัก

 

9. ใบกำกับภาษีรายวัน               : ใช้ในการสร้างใบกำกับภาษี และเลือกพิมพ์


            -. โปรแกรมส่วนนี้ จะให้ท่านเลือกได้ 2 ข้อ  คือ ออกหมายเลข  ซึ่งควรจะเลือกทำข้อนี้ต่อเมื่อ ท่านได้บันทึกรายการใช้จ่ายของลูกหนี้ประจำวัน และทำการตรวจสอบจนแน่ใจแล้ว  และอีกข้อ คือ เลือกพิมพ์ข้อนี้จะให้ท่านสามารถเลือกพิมพ์ใบกำกับภาษีที่ได้ทำการ ออกหมายเลขแล้ว

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปที่เมนูหลัก

 

 

9.1 ออกหมายเลข


            -. ให้ท่านป้อนวันที่ที่ต้องการให้โปรแกรมสร้างใบกำกับภาษี ลงในช่อง ประจำวันที่

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปให้เลือกทำรายการ

 


            -. เนื่องจากการ ออกใบกำกับภาษีเป็นสิ่งที่สำคัญมาก โปรแกรมจึงให้ท่านเลือกตอบเพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้ง

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปที่ช่อง  ประจำวันที่

 

9.2 เลือกพิมพ์

            -. ให้ท่านป้อนหมายเลขใบกำกับภาษีที่ต้องการจะพิมพ์ลงในช่อง หมายเลขและ ถึง

            -. ป้อนปีของใบกำกับภาษีลงในช่อง ปีซึ่งมักจะเป็นปีเดียวกันกับที่แสดงไว้

                        การใช้ปุ่มพิเศษ    : ESC    จอภาพจะกลับไปให้เลือกทำรายการ

 


Menu