วิธีดูแลรักษา inkjet printerวิธีดูแลรักษา Inkjet Printer ให้อยู่กับเรานาน ๆ

 Inkjet Printer ที่ใช้กันอยู่ทั่วไปนั้น ทราบหรือไม่ว่ามีลักษณะของหัวพิมพ์ที่แตกต่างกันอยู่ 2 ประเภท คือ ประเภทที่มีหัวพิมพ์อยู่ที่ตัวเครื่อง เช่น Epson กับประเภทที่หัวพิมพ์อยู่ในตลับหมึก เช่น Hewlett Packard ซึ่งทั้ง 2 ประเภทนี้มีวิธีดูแลรักษาที่ต่างกันด้วย มาดูเทคนิคกันครับ

1. ดูแลหัวพิมพ์ของ printer ให้สะอาดอยู่เสมอ

การเอาใจใส่เรื่องการรักษาความสะอาดหัวพิมพ์ของ printer เป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยไม่ให้เกิดการอุดตันของหัวพิมพ์ได้ บ่อยครั้งที่มีน้ำหมึกบางส่วนตกค้างแล้วไหลไปจับกันเป็นคราบที่บริเวณส่วนปลายของหัวพิมพ์ แล้วทำให้ ออกอาการแปลก ๆ หรือสีเพื้ยน วิธีแก้ไขอย่างง่ายคือ

นำตลับหมึกออกมาจากprinterแล้วค่อย ๆ เช็คดทำความสะอาดบริเวณหัวพิมพ์ด้วย cotton buds ห้ามใช้กระดาษชำระและแอลกอฮอล์โดยเด็ดขาด จากนั้น นำตลับหมึกใส่เข้าไปในช่องของ printer แล้วดึงออกมา การรักษาความสะอาดของหัวพิมพ์อย่างสม่ำเสมอจะช่วยทำให้งานพิมพ์ให้ได้ปริมาณมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเลยทีเดียว

2. ซื้อ Printer มาใช้ก็ใช้บ้าง

Printer ทุกตัวสามารถป้องกันปัญหางานพิมพ์ไม่ได้ดังใจด้วยการหมั่นใช้งานมันบ่อย ๆ หรืออย่างน้อยใช้ พิมพ์งานทั้งสีและขาว-ดำบ้าง เพราะจะช่วยป้องกันไม่ให้หมึกแห้งเป็นคราบติดอยู่ภายในท่อฉีดน้ำหมึก คำแนะนำคือ ควรเปิดเครื่อง printer สัปดาห์ละครั้ง เพื่อให้หัวพิมพ์ฉีดหมึกใหม่เข้าไปไล่หมึกเก่า ป้องกันปัญหาการอุดตันของหมึก


3. การเก็บรักษา Printer เมื่อไม่ได้ใช้งาน

ควรมีผ้าคลุมกันฝุ่น printer ไว้เพื่อป้องกันฝุ่นละอองไม่ให้เข้ามาในกลไล สำหรับ printer ที่มีหัวพิมพ์อยู่ที่ตัวเครื่อง จะต้องมีตลับหมึกติดอยู่ในเครื่องเสมอ ถึงแม้จะมีหมึกอยู่ไม่ก็ตาม เพราะการนำตลับออกจะเป็นการเปิดให้อากาศเข้าไปทำให้ท่อทางเดินน้ำหมึกแห้ง ส่วนประเภทที่หัวพิมพ์อยู่ในตลับหมึก ให้นำตลับหมึกออกมาไว้ในถุง Zip-lock หรือถุงพลาสติกแล้วปิดป้องกันไม่ให้อากาศเข้าไป

4. รักษาสุขภาพของ Printer ให้ดี

การหมั่นกำจัดเศษกระดาษและฝุ่นผงทั้งหลายด้วยการเป่าเศษผงและฝุนออกด้วยเครื่องเป่าลมธรรมดา ๆ (ไม่ใช่เครื่องเป่าผม) จะช่วยให้ Printer ของเราสามารถป้อนกระดาษได้อย่างไม่ติดขัด

5. อย่าให้หัวพิมพ์อุดตัน

หัวพิมพ์ประกอบด้วย nozzle ซึ่งเป็นท่อฉีดน้ำหมึก เมื่อเกิดการอุดตันจะทำงานพิมพ์ขาดความคมชัด หรือมีลายเส้น ๆ วิธีแก้ไขคือให้เรียกใช้โปรแกรมสำหรับตรวจสอบ และทำความสะอาดหัวพิมพ์ที่ติดตั้งมาพร้อมกับตอนที่เราติดตั้ง driver ซึ่งจะมีคำแนะนำขั้นตอนต่าง ๆ อยู่แล้ว

6. การทำความสะอาดลูกกลิ้งหมุนกระดาษ (Roller)

นำกระดาษหนา ๆ ที่สามารถซับน้ำได้ดี แล้วฉีดน้ำยาทำความสะอาดที่มีส่วนผสมของแอมโมเนียให้หมาด ๆ แล้วป้อนเข้าไปใน printer และ feed กระดาษออกมา ทำอย่างนี้ซ้ำ ๆ 2-3 ครั้ง แล้วจึงใช้กระดาษธรรมดาป้อนเข้าไปและ feed ออกมาเพื่อซับลูกกลิ้งหมุนกระดาษให้แห้ง เพียงเท่านี้ ก็จะช่วยล้างหมึกและสิ่งสกปรกที่ติดอยู่ได้แล้ว

7. ปิดเครื่องด้วย switch ของ printer ก่อนถอดปลั๊กไฟ

การปิดเครื่องด้วย switch ของ printer จะทำให้printerมีการทำความสะอาดหัวพิมพ์และเก็บตลับหมึกเข้าที่ก่อนตัดไฟเข้าเครื่อง จึงเป็นการทำให้ printer ถูกปิดลงอย่างถูกต้อง การถอดปลั๊กไฟหรือปิด switch ปลั๊กไฟโดยไม่ปิดด้วย switch ของ printer จะทำให้เสียได้ง่าย

8. หมั่น update driver และ software ของprinterอยู่เสมอ

เพราะ software (รวมไปถึง driver) ใหม่ ๆ จะถูกปรับปรุงให้ดีขึ้นจาก version ก่อน ๆ และในบางครั้งก็มี features ใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอีกด้วย

9. ไม่ควรนำหมึกคุณภาพต่ำมาเติม

แน่นอนครับ ถึงจะพิมพ์งานออกมาได้จริง แต่จะทำให้ตลับหมึกอุดตันเร็วขึ้น และอาจทำให้หัวพิมพ์เสียหายอีกด้วย

10. ควรเปลี่ยนน้ำหมึก เมื่อมีการเตือนหมึกหมด

หลายคนยังฝืนที่จะพิมพ์ต่อ ถึงแม้ว่า driver ของ printer จะขึ้นเตือนว่าหมึกหมดแล้วก็ตาม กรณีหมึกสีหมด หากยังฝืนพิมพ์งาน ขาว-ดำต่อ แม้ว่าหมึกสีจะไม่ได้ใช้ แต่ความร้อนที่หัวพิมพ์ยังคงมีอยู่ ยิ่งเราฝืนพิมพ์ จะทำให้หัวพิมพ์มีความร้อนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจทำให้เครื่องพิมพ์เสียหายได้

 

ขอขอบคุณข้อมูลสาระน่ารู้จากวารสาร Pantip Guide ฉบับที่ 55 http://www.pantipplaza.com