ยูพีเอส UPS (Un-interruptible Power Supply) คืออะไร

หมายถึงเครื่องสำรองไฟ โดยมีแบตเตอร์รี่อยู่ในตัว หลักการทำงานจะทำหน้าที่จ่ายกระแสไฟ ให้กับอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีการเชื่อมต่อ ในช่วงเวลาที่กระแสไฟฟ้าหลักเกิดทำงานผิดพลาด หรือไม่สามารถให้กระแสไฟได้ ทั้งนี้เพื่อป้องกันไฟฟ้าดับในขณะที่เรากำลังทำงานอยู่ สำหรับการเลือกซื้อ UPS ให้ดูจากปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้

  • ขนาดของ UPS และการนำไปใช้ โดยปกติถ้าเรานำ UPS มาใช้กับระบบคอมพิวเตอร์ เราจะตรวจสอบขนาดของ UPS โดยมีหน่วยเป็น VA หรือ KVA โดยทั่วไป เครื่องคอมพิวเตอร์ 1 ชุด จะใช้ไฟประมาณ 200 - 250 VA อย่างไรก็ตามการเลือกซื้อ การเลือกซื้อขนาดของ UPS ที่มากกว่าสักเล็กน้อย
  • ระยะเวลาการสำรอง Backup Time - หมายถึงระยะเวลาที่ UPS สามารถให้กระแสไฟได้ หลังจากเริ่มใช้งาน โดยปกติหลังจากไฟฟ้าดับ และเริ่มใช้งาน UPS เราจะใช้เพียงแค่ บันทึกงานที่ค้างอยู่ และปิดคอมพิวเตอร์ ดังนั้น ระยะเวลาการสำรอง อาจไม่จำเป็นต้องมากนัก เช่น อาจอยู่ระหว่าง 10 - 30 นาที เป็นต้น
  • ซอร์ฟแวณ์ควบคุม - ปัจจุบันมี UPS หลายยี่ห้อที่ผลิตซอร์ฟแวร์ ควบคุมการใช้งาน UPS เช่น สามารถตรวจสอบพลังงานที่คงเหลือใน UPS ได้ หรือสามารถสั่งปิดระบบคอมพิวเตอร์ได้ เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นกับความจำเป็นของการนำไปใช้


ประเภทของ UPS

  1. Stand by UPS หรือ Offline UPS เป็น UPS ที่ใช้สำรองไฟเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถปรับแรงดันไฟฟ้าได้ ราคาของ UPS แบบนี้จะถูกที่สุด ไม่แนะนำให้ใช้กับระบบคอมพิวเตอร์
  2. Line Interactive UPS เป็น UPS ที่เพิ่มความสามารถจาก Stand by UPS โดยเพิ่มอุปกรณ์ในการปรับแรงดันไฟฟ้า หรือที่เราเรียกว่า Stabilizer ซึ่งมีส่วนให้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วง มีอายุการใช้งานที่มากขึ้น ราคาจะสูงกว่า Stand by UPS
  3. Online UPS หรือ Ture Online UPS เป็น UPS ที่เพิ่มความสามารถจาก Line Interactive UPS โดยเพิ่มในส่วนของการควบคุมคลื่นสัญญาณรบกวนในรูปแบบที่เรียกวา WAVE ได้ดี ถือว่า UPS ชนิดนี้สามารถป้องกันปัญหากระแสไฟได้ทุกชนิด สำหรับราคาจะแพงมากที่สุด เหมาะสำหรับติดตั้งกับอุปกรณ์ที่ต้องการควบคุมกระแสไฟให้สม่ำเสมอ และต้องการคุณภาพของไฟฟ้าที่สูง

ดังนั้น การเลือกซื้อ UPS คงต้องดูในเรื่องรายละเอียดการนำไปใช้ และงบประมาณกันสักนิด แต่เชื่อว่า รายละเอียดดังกล่าวข้างต้น คงพอจะช่วยให้เป็นแนวทางในการซื้อ UPS ได้ อ้อ ! สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการต่อ UPS กับคอมพิวเตอร์ ไม่ควรต่อเครื่องพิมพ์ชนิด หัวเข็ม หรือ Dot Matrix เข้าไปด้วย เพราะระบบพิมพ์แบบนี้ จะมีการใช้กระแสไฟแบบกระชาก ซึ่งไม่เหมาะอย่างยิ่ง (UPS บางรุ่น จะมีช่องให้ต่อสำหรับเครื่องพิมพ์ชนิดนี้โดยเฉพาะ)


ทิป ปัญหาและเทคนิคการดูแล

  • การดูแลรักษา
    หัวใจของ UPS คือแบตเตอร์รี่ ซึ่งส่วนใหญ่มีอายุการใช้งาน 1-2 ปี ดังนั้นเพื่อให้อายุการใช้งานของแบตเตอรรี่ให้นานที่สุด เราควรมีการใช้แบตเตอรรี่ โดยการดับไฟ เพื่อให้แบตเตอร์รี่ถูกใช้งาน ประมาณเดือนละครั้งสัก 10-15 นาที
  • ไฟไม่เข้า UPS
    ปัญหาอย่างหนึ่งที่พบกับการใช้งาน UPS คือ ฟิลล์ขาด UPS ส่วนใหญ่จะมีฟิลล์สำรองในเครื่องให้ ดังนั้นถ้าสังเกตุว่าไม่มีไฟเข้า UPS ลองเช็คดูว่าฟิลล์ขาดหรือไม่
  • จอภาพสั่น
    อีกปัญหาหนึ่งที่พบอันเนื่องมาจากกระแสไฟที่จ่ายให้คอมพิวเตอร์มีสัญญาณรบกวนมาก การใช้ UPS เพื่อดักจับและปรับกระแสไฟจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้

 


Menu